ปัจจุบันการแชร์เนื้อหาสาระ การแชร์ข่าวผ่าน social network เช่น Line , facebook , youtube หรือแม้กระทั่ง การใช้ภาพและวีดีโอ จากทางอินเทอร์เน็ต หรือทาง Social Network นั้น ล้วนมีลิขสิทธิ์ หากคุณแชร์โดยไม่รู้กฎหมายลิขสิทธิ์ คุณก็มีสิทธิที่จะถูกฟ้องร้อง และอาจถูกทั้งจับคุกและปรับได้ ยิ่ง กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ จะมีผลบังคับใช้ 4 สิงหาคม 2558 นี้ มีความเข้มข้นด้านเทคโนโลยีมากขึ้นกว่าเดิม
อาจารย์ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย และที่ปรึกษาด้านกฏหมาย ได้กล่าวถึงกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ ที่จะมีผลบังคับใช้หลังวันที่ 4 สิงหาคม 2558 ที่คนทำเว็บและผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ต้องระวัง ในงานสัมนา จิบกาแฟคนทำเว็บ ( Webpresso ) เรื่อง ตอบคำถามกับปัญหาคาใจบนโลกออนไลน์ ว่า….
” หากรูปใน facebook ถูก copy ไปใช้ในทางเชิงพาณิชย์ ในทางกฎหมาย ถ้าเราถ่ายเองหรือจ้างคนอื่นถ่าย ถือว่าภาพถ่ายนั้นเป็นลิขสิทธิ์ของเรา ทั้งนี้รูปที่มีปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นศิลปินดารา ที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
และ ในวันที่ 4 สิงหาคมนี้ กฎหมายลิขสิทธิจะมีผลบังคับใช้ หากคุณทำการลบลายน้ำในรูป หรือทำการตัดครอปรูปโดย รูปนั้นไม่นำชื่อเจ้าของภาพ แล้วนำไปใช้ในเว็บตัวเอง หรือแชร์ทาง Social Network โดยไม่อ้างอิงเจ้าของตัวจริง มี โทษจำคุก 6 เดือน และปรับ 2 แสนบาท ดังนั้น การ Copy รูปภาพบน facebook , youtube , instagram , twitter , flickr หรือจากเว็บอื่น ต้องให้ Credit ใส่ชื่อเจ้าของรูปอ้างอิงไว้ด้วย ”
กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ที่จะมีผลในวันที่ 4สิงหาคม 2558 นั้น มีเจตนารม คือ เวลาจะเอาผลงานของใครมา ต้องเอาชื่อคนนั้นมาใส่ด้วย “อาจารย์ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ กล่าว”
หากเป็นการ copy เนื้อหาบนหน้าเว็บ มาโพสต์ทาง facebook หรือเว็บเรา ผิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ?
อาจารย์ไพบูลย์ ให้คำแนะนำว่า
- ถ้าเป็นรายบุคคล เป็น facebook ใช้ส่วนตัว สามารถใช้ได้ ทั้งนี้ต้อง อ้างอิงแหล่งที่มา ใช้ส่วนตัว และ ไม่มีแสวงหาผลกำไร ถึงจะไม่ผิดลิขสิทธิ์
- แต่ถ้าในกรณีนิติบุคคล ถือว่าไม่ได้ ถ้าเว็บไซต์คุณมีแบนเนอร์ หรือ facebook มีกิจกรรมชิงโชค ถือว่า ผิดลิขสิทธิ์
ถ้าเว็บไซต์ หรือ blog ของเรา นำ embed วีดีโอจาก youtube แปะใส่ในหน้าเว็บเราล่ะ ทำได้มั้ย ผิดหรือเปล่า?
อาจารย์ไพบูลย์ ให้คำแนะนำว่า
- embed ของ youtube ใส่หน้าเว็บเราเป็นสิงที่อันตราย เพราะลิขสิทธิ์ของเขา แต่อยู่ภายใต้เวบของเรา ซึ่งผิดลิขสิทธิ์
- ดังนั้นวิธีแก้คือ ใส่ภาพนิ่งเป็นตัวอย่างภาพวีดีโอนั้น พร้อมกับทำลิงค์ไปยังวีดีโอเจ้าของคลิป อันนี้สามารถทำได้ ไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์
** หมายเหตุ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้แก้ไขเอกสารเกี่ยวกับประเด็น EMBED โดยสรุปคร่าวๆว่า การ EMBED อาจไม่ผิดลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศาลตัดสิน (รายละเอียดคลิกที่นี่)
หากกลุ่มผู้ผลิตรายการทีวี ต้องการนำคลิป Youtube ไปใช้ควรทำอย่างไร ?
อาจารย์ไพบูลย์ ให้คำแนะนำว่า
- ต้องเผยชื่อ user youtube เจ้าของคลิปนั้น เพื่ออ้างอิง และคลิปที่ใช้ได้ต้องเผยแพร่แบบสาธารณะ
- ถ้าเป็นคลิป youtube แบบ Private หรือแชร์ลิงค์เฉยๆที่ไม่ใช่สาธารณะนำมาใช้ ถือว่าผิดลิขสิทธิ์
- กรณีแฟนเพจ facebook แชร์ภาพของ fanpage อื่น เพื่อเรียกเรตติ้ง มีความเสี่ยงถูกฟ้อง เพราะเรื่องแสวงหาผลกำไร
- ดังนั้น หากไม่อยากโดนฟ้องเรื่องลิขสิทธิ์ภาพถ่าย ควรถ่ายเอง วาดเอง หรือขอจากเจ้าของรูปเอง ก็ใช้ได้ แต่ถ้าเอาจาก google อาจโดนฟ้องได้ และถูกเรียกเงินสูงด้วย
ถ้าแปลจากเว็บต่างประเทศ แล้วอ้างอิงให้แล้ว ผิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ?
อาจารย์ไพบูลย์ ให้คำแนะนำว่า
- ถ้าเป็นเนื้อหาข่าว ไม่ผิดลิขสิทธิ์ แต่ถ้าเป็นบทความอาจผิดลิขสิทธิ์ได้ ถ้าใช้ในเรื่องแสวงหาผลกำไร หรือใช้ในเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ การนำเนื้อหามารีไรท์เรียบเรียงใหม่ ถือว่าไม่ผิด แต่ถ้า copy paste แปลรายคำ ถือว่าผิดลิขสิทธิ์
- ตัวอย่างเนื้อหาข่าวที่ไม่ผิดลิขสิทธิ์ เช่น เนื้อหาข่าวว่าเกิดอะไรขึ้น ข้อมูลทั่วไป ราคาหุ้น พยากรณ์อากาศ หนังฉายวันนี้ ราคาน้ำมัน ผลการแข่งขันฟุตบอล อันนี้ไม่เป็นลิขสิทธิ์ สามารถแชร์ หรือใช้ได้
- เนื้อหาที่อาจถูกฟ้องในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ คือ พวกภาพข่าว รูป บทสัมภาษณ์ข่าว คอลัมน์ข่าว ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ หากนำไปใช้โดยไม่ขออนุญาตเจ้าของภาพ หรือเจ้าของคอลัมน์ อาจเสี่ยงถูกฟ้องในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ได้
ที่มา : เนื้อหาจากงานสัมนาจิบกาแฟคนทำเว็บ ( Webpresso ) เรื่อง ตอบคำถามกับปัญหาคาใจบนโลกออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น